มาตรฐาน
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
มาตรฐาน
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด
ท 5.1 ม.4-6/1 วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น
ท 5.1 ม.4-6/2 วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
ท 5.1 ม.4-6/3 วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ท 5.1 ม.4-6/4 สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตรจริง
แนวคิด
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตและความทุกข์องชาวนา มีการลำดับความง่าย ใช้ถ้อยคำกะทัดรัดสละสลวยและมีข้อคิดที่นำไปพิจารณาไตร่ตรองแล้วปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น
ลักษณะคำประพันธ์
ความเป็นมา
ทุกข์ของชาวนาในบทกวีเป็นบทความจากหนังสือมณีพลอยร้อยแสง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โดย ทุกข์ของชาวนาในบทกวีจะชี้ให้ผู้อ่านเห็นความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น นอกจากนี้ตัวยังแสดงให้เห็นความสอดคล้องของเนื้อหาในบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และหลี่เชิน ที่แม้จะแต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังแต่เนื้อหาก็ยังมีความเป็นปัจจุบันอยู่ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นในไทย จีน หรือที่ใดแห่งใดในโลก สภาพชีวิตของชาวนาก็ล้วนแล้วแต่ลำบากยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกันทั้งสิ้นไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ตาม
เรื่องย่อ (ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง จากใบงานภาษาไทยมัธยม)
ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
วิเคราะห์บทเด่นของวรรณคดีทุกข์ของชาวนาในบทกวี
วิเคราะห์คุณค่าของเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
คุณค่าด้านเนื้อหา
กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ
ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และองหลี่เชิน โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น
"...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก" กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."
ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า
"ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."
สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน ว่า
"เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง"
บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือ แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ ชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามแนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน คือ ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยต้องประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ใช้ภาษาเรียบง่ายกะทัดรัด สื่อภาพ ชัดเจน ความน่าสนใจ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเลือกบทกวีประกอบได้เหมาะสม สื่ออารมณ์ของชาวนาได้เป็นอย่างดี ดังบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ กู เพื่อเสนอว่า ชาวนาเป็นผู้พูดหรือแสดงความคิดเห็น ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่านี่คือเสียงของชาวนาจริง ๆ
ส่วนบทกวีแปลนั้นก็ใช้ภาษาเรียบง่ายแต่แสดงภาพความลำบากของชาวนาได้แจ่มชัด ดังที่กล่าวว่า รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย เป็นการแสดงความคัดแย้งให้คิด
คุณค่าด้านวัฒนธรรม
สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมและวัฒนธรรมเป็นเสมือนการบันทึกประวัติศาสตร์วิถีชีวิตของชาวนา ซึ่งมีคุณค่าแก่การศึกษาในเชิงสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง เช่น เนื้อความตอนที่กล่าวว่า บางคนที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็มันจะนิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืชซึ่งมักจะได้ราคาตกต่ำ เพระารัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมราคามาเป็นพืชเศรษฐกิจประเภทอื่นที่ราคาสูงกว่า
คำศัพท์
กำซาบ ซึมเข้าไป
เขียวคาว สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อ ซึ่งแสดงถึงความ ทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
จิตร ภูมิศักดิ์ นักเขียนชื่อดังของไทยในช่วง พ.ศ. 2473 - 2509 ที่มีผลงานสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา และวรรณคดี
จำนำพืชผลเกษตร การนำผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ ก่อน
ฎีกา คำร้องทุกข์ การร้องทุกข์
ธัญพืช มาจากภาษาบาลีว่า ธญฺญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
นิสิต ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
ประกันราคา การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่า ราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ หรือ เปิบข้าว หมายถึง วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
พืชเศรษฐกิจ พืชที่สามารถขายได้ราคาดี พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ปาล์มน้ำมัน
ภาคบริการ อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
ลำเลิก กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้สำนึกบุญ
คุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น
วรรณศิลป์ ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ
สวัสดิการ การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย เช่น มีสถาน พยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู สรรพนามบุรุษที่ 2 เป็นคำโบราณ
อาจิณ ประจำ
อุทธรณ์ ร้องเรียน ร้องทุกข์
ทำใบงานเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี